การทำความสะอาดตามศาสนบัญญัติ
อั้ตตอฮาเราะห์คือ การทำความสะอาดตามศาสนบัญญัติ ที่อนุญาติให้ทำละหมาดได้
ได้แก่ การอาบน้ำละหมาด การอาบน้ำวายิบ การตะยำมุม และการขจัดน่ายิส
กล่าวคือ คนหนึ่งถูกห้ามไม่ให้เข้าสู่ละหมาด
ก่อนที่เขาจะทำความสะอาดตามศาสนบัญญัติ เมื่อเขาได้ทำการอาบน้ำละหมาด
หรืออาบน้ำวายิบ หรือตะยัมมุม และการขจัดน่ายิสออกจากร่างกาย และเสื้อผ้าของเขา
ศาสนาก็อนุมัติให้เขาเข้าสู่การละหมาดได้
ฮิกมะห์ของการทำความสะอาด
การทำความสะอาดได้ถูกวางบทบัญญัติขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้ผู้ศรัทธามีความสะอาดทั้งร่างกาย
เสื้อผ้า และสถานที่
เช่นเดียวกับการที่ผู้ศรัทธาจะต้องมีหัวใจที่สะอาดด้วยกับการอีหม่านและอิคล้าส คือสะอาดทั้งภายนอกและภายใน
เพื่อให้เขาเข้าเฝ้าพระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ด้วยกับลักษณะที่สมบูรณ์
น้ำที่สามารถใช้ในการทำความสะอาดตามศานบัญญัติได้มี 7 น้ำได้แก่
1.مَاءُ السَّمَاءِ น้ำฝน น้ำค้าง
2.مَاءُ النَّهْرِ น้ำแม่น้ำ
3.مَاءُ الْبَحْرِ น้ำทะเล
4. مَاءُ الْبِئْرِ น้ำบ่อ
5. مَاءُ الْعَيْنِ น้ำตาน้ำ
6.مَاءُ الْبَرَدِ น้ำลูกเห็บ
7. مَاءُ
الثَّلْجِ น้ำหิมะ
น้ำยังสามารถแบ่งได้ตามลักษณะและฮุ่ก่มของน้ำได้อีก 4 ประเภท
1. اَلْمَاءُ الْمُطْلَقُ คือน้ำที่สะอาดในตัวของมัน
สามารถทำความสะอาดสิ่งอื่นได้โดยไม่มักโรห์ใช้ในร่างกาย เช่นการอาบน้ำละหมาด
การอาบน้ำวายิบ การล้างน่ายิสออกจากร่างกาย เป็นต้น ได้แก่น้ำที่ไม่มีชื่อพ่วงท้าย
หรือมีชื่อพ่วงท้ายที่เกี่ยวกับที่อยู่ของน้ำ เช่นน้ำทั้ง 7
ชื่อที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว
ส่วนน้ำที่มีชื่อพ่วงท้าย เช่นน้ำส้ม น้ำชา
น้ำองุ่น เป็นต้น ไม่ถือว่าเป็นน้ำมุตลัก
ดังนั้นจึงไม่สามารถเอามาทำความสะอาดตามศาสนบัญญัติได้
2. الْمَاءُ
الْمُشَمَّسُ คือน้ำที่สะอาดในตัวของมัน
สามารถทำความสะอาดสิ่งอื่นได้ แต่มักโระห์ใช้ในร่างกาย
ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำละหมาด การอาบน้ำวายิบ หรือการล้างน่ายิสที่ร่างกาย
แต่ไม่มักโระห์ใช้กับเสื้อผ้า เช่นการเอามาซักผ้า เป็นต้น ได้แก่ น้ำที่ตากแดด
แต่การมักโระห์นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่อไปนี้
(1) ต้องอยู่ในฤดูร้อน
(2) ต้องอยู่ในภาชนะที่สามารถขึ้นสนิมได้
(3) ต้องอยูในเมืองที่ร้อน
(4) ใช้น้ำในตอนที่มันยังร้อนอยู่
(5) ใช้น้ำกับร่างกาย
(6) สามารถที่จะหาน้ำอื่นได้
(7) ไม่กลัวว่าจะเกิดอันตราย แต่ถ้าหากเขาคาดว่าจะต้องเกิดอันตรายแน่
ฮะรอมที่จะใช้น้ำมุชัมมัซ
3. الْمَاءُ الْمُسْتَعْمَلُ
คือน้ำที่สะอาดในตัวของมัน แต่ไม่สามารถทำความสะอาดสิ่งอื่นได้
กล่าวคือไม่สามารถเอามาอาบน้ำละหมาด อาบน้ำวายิบและล้างน่ายิสได้แล้ว
ได้แก่น้ำที่ถูกใช้ในการทำความสะอาดที่เป็นฟัรดู
เช่น น้ำที่ใช่ในการอาบน้ำละหมาด อาบน้ำวายิบ เป็นต้น
และน้ำมุสตะมั้ลยังมีอีกประเภทหนึ่ง คือ น้ำที่ใช้ราดผ่านน่ายิสซึ่งปริมาณของน้ำไม่เพิ่มขึ้นหลังจากราดไหลผ่านไปแล้ว
ยังมีอีกประเภทหนึ่งที่อยู่ในประเภทของน้ำมุสตะมั้ล[1] คือน้ำที่เปลี่ยนแปลง สี กลิ่น หรือรสด้วยกับสิ่งที่มาปนกับน้ำ
ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากน้ำได้ เช่น น้ำผึ้ง น้ำหอม หรือสีต่างๆที่มาผสมกับน้ำ ดังนั้นน้ำที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้สะอาดในตัวของมัน แต่ไม่สามารถนำมาทำความสะอาดตามศาสนบัญญัติได้[2]
ส่วนน้ำที่เปลี่ยนแปลงสี
กลิ่น หรือรส ด้วยกับสิ่งที่สะอาดที่แช่อยู่ในน้ำ แต่สามารถเอาออกจากน้ำได้ เช่น
ท่อนไม้ เป็นต้น น้ำประเภทนี้ยังสามารถนำมาทำความสะอาดตามศาสนบัญญัติได้
ข้อควรจำ
สามารถทำความสะอาดตามศาสนบัญญัติด้วยกับน้ำที่เปลี่ยนแปลงด้วยกับสิ่งที่น้ำไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่น
ดิน จอก แหน เป็นต้น
4. مَاءُ
نَجِسٍ คือน้ำที่มีน่ายิสเจอปนอยู่ในน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ประเภทแรก คือ น้ำที่น้อยกว่า 2 กุลละห์ ( 216 ลิตร) ที่มีน่ายิสตกลงไป
จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็ตาม ถือว่าเป็นน้ำน่ายิส
ประเภทที่สอง คือ น้ำที่มากกว่า 2 กุลละห์ขึ้นไป
ที่มีน่ายิสตกลงไป
แล้วทำให้น้ำดังกล่าวเปลี่ยนแปลง
ข้อควรจำ
น่ายิสที่ศาสนาอภัยให้
เมื่อตกลงไปในน้ำแล้วไม่ทำให้น้ำเป็นน่ายิส คือ ซากสัตว์ที่ไม่มีเลือดไหล
ตอนที่อวัยวะของมันฉีกขาด เช่น ผึ้ง แมลงวัน ยุง จิ้งจก ด้วง เป็นต้น
โดยมีเงื่อนไขว่า น้ำนั้นต้องไม่เปลี่ยน สี กลิ่น หรือรส และต้องไม่มีใครโยนสัตว์ดังกล่าวลงไปในน้ำ
หากว่าน้ำมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีใครจับสัตว์ดังกล่าวโยนลงไปในน้ำ
ก็ถือว่าน้ำนั้นเป็นน้ำน่ายิส
น้ำที่ฮารอมใช้
ฮารอมในการใช้น้ำที่ถูกขโมยมา
หรือน้ำนั้นได้ถูกบริจาคให้เอาไว้ดื่ม ถึงแม้ว่ามันจะเป็นน้ำมุตลักก็ตาม
ดังนั้นหากเอาน้ำดังกล่าวมาใช้ทำความสะอาดตามศาสนบัญญัติ[3]
ถือว่าเซาะห์ใช้ได้ พร้อมทั้งฮารอมด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น